วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวิจัยการตลาด

นางสาวพิมพ์พิศา  สังข์สุวรรณ
นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (D.B.A.07) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
รายวิชา BUS 702 ทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฎิบัติ
          (Advanced Theories of Strategic Management Marketing Concepts and   
          Practices)
หลังจากการฟังบรรยายของ ผศ.ดร.วิชิต  อู่อ้น

บทที่ 6 การวิจัยการตลาด
    Philip Kotler  กล่าวไว่ว่า "การวิจัยตลาดถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนการวางแผนการตลาด  หากคุณไม่ได้ทำวิจัยตลาดก่อน  การตลาดองคุณจะล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
    ความหมายของการทำการวิจัย หมายถึง การรวบรวม บันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดของสินค้า และบริการต่าง ๆอย่างมีระบบแบบแผน 
ประเภทของการวิจัยตลาด
     1.การวิจัยผู้บริโภค หมายถึง การศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ใครเป็นผู้ใช้สินค้า  ทำไมถึงซื้อสินค้า  ซื้อไปทำอะไรจำนวนใช้ในแต่ละครั้ง ความจงรักภักดีในตัวสินค้า และสถานที่ซื้อ เป็นต้น **เป็นวิจัยที่สำคัญที่สุด และต้องทำเป็นอย่างแรก**
     2.การวิจัยผลิตภัณฑ์ หมายถึง การศึกษาถึงความต้องการของผู้บริโภคต่อตัวผลิตภัณฑ์ (Product) ศึกษาองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่  การศึกษาสินค้าของคู่แข่งขัน การทดสอบผลิตภัณฑ์  การวิจัยการบรรจุหีบห่อ
     3.การวิจัยราคา (Pricing Research)  หมายถึง การศึกษาราคากลางในตลาด หรือการเปรียบเทียบราคากับคู่แข่ง 
     4.การวิจัยโฆษณา (Advertising Research) หมายถึง การศึกษาว่าจะสื่อสารอย่างไรทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดีที่สุด  ทำอย่างไรให้ลูกค้าจดจำสินค้าได้ ได้แก่  การวิจัยสาระทางโฆษณา  การวิจัยสื่อโฆษณา  (ขอบเขตของการเข้าถึง  ความถี่ในการโฆษณา  และผลกระทบ)  การวิจัยประสิทธิผลทางโฆษณา 
     5.การวิจัยการขาย (Sales Research) หมายถึง การศึกษาตั้งแต่ช่องทางการจัดจำหน่าย  คัดเลือก อบรมพนักงานขาย การขายของคู่แข่ง  โดยทำการวิจัย ได้แก่ การวิจัยช่องทางการจัดจำหน่าย  การวิจัยองค์การฝ่ายขาย และการปฎิบัติงานการขาย  การวิจัยเกี่ยวกับขอบเขตการขาย  วิธีการขายในปัจจุบัน วิจัยเกี่ยวกับพนักงานขาย และการพยากรณ์การขาย
ขั้นตอนการวิจัยตลาด
     1.การกำหนดปัญหา และวัตถุประสงค์  ต้องกำหนดปัญหาให้ถูกต้อง  มองปัญหาอย่างรอบด้านเพราะ ผู้บริหารแต่ละก็จะมองปัญหาแตกต่างกันไป  การกำหนดปัญหาต้องชัดเจน แน่นอน ไม่คลุมเคลือ และมีขอบเขตที่เหมาะสม
     2.การจัดเตรียม และการออกแบบการวิจัย ต้องทำอย่างระมัดระวัง ใช้วิธีวิจัยอย่างเหมาะสม ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากได้ข้อมูลเชิกลึกแค่ไหน หรืออยากได้ข้อมูลนั้นมาใช้ด้านใด
     3.การรวบรวมข้อมูล 
       ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ถูกเก็บครั้งแรกเป็นข้อมูลสำหรับวัตถุประสงค์ และปัญหาของเราโดยเฉพาะ
       ข้อมูลทุติยภูมิ คือข้อมูลที่ถูกเก็บไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อวัตถุประสงค์อื่นมากกว่าปัญหาของเราโดยเฉพาะ  แหล่งข้อมูลหาได้จากทั้งแหล่งภายใน  และภายนอก
      4.การประมวลผล และแปลความหมายข้อมูล ได้แก่  1.การตรวจสอบข้อมูล  2.การแบ่งหมวดหมู่ข้อมูล  3.การลงรหัสข้อมูล  4.การจัดข้อมูลเข้าตาราง
      5.การจัดรายงานและการนำเสนอ
      6.การติดตามผลงานวิจัย   เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไข ให้เหมาะสมกับสภาพตลาด  ลูกค้า และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น