วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สถานที่ ช่องทางการจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้า

นางสาวพิมพ์พิศา  สังข์สุวรรณ
นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (D.B.A.07) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
รายวิชา BUS 702 ทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฎิบัติ
          (Advanced Theories of Strategic Management Marketing Concepts and   
          Practices)
หลังจากการฟังบรรยายของ ผศ.ดร.วิชิต  อู่อ้น

บทที่ 9 สถานที่ ช่องทางการจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้า (Place /Channel of Distribution)
         หมายถึง ช่องทางการจัดจำหน่าย: กลุ่มองค์กรอิสระที่ช่วยอำนวยการขนย้ายแลกเปลี่ยนสินค้าจากผู้ผลิตไปยัง ผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม เป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค เเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยที่ที่สินค้านั้นยังคงคุณค่าเหมือนเดิม ซึ่งในการเคลื่อนย้ายอาจผ่านคนกลาง หรือสถาบันต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการเคลื่อนย้าย

ผู้มีส่วนร่วมในช่องทางจัดจำหน่าย
     1. ผู้มีส่วนร่วมที่เป็นสมาชิก (Member participants) ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ซื้อและขายรวมทั้ง การโอนกรรมสิทธิ์สินค้า” ได้แก่ พ่อค้าคนกลาง ตัวแทนคนกลาง 
    2. ผู้มีส่วนร่วมที่ไม่เป็นสมาชิก (Nonmember participants)ผู้มีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและ สนับสนุนกลุ่มที่ 1” เช่น ธนาคาร บริษัทโฆษณา บริษัทวิจัย
ประโยชน์ของคนกลาง
   1.ความชำนาญเฉพาะด้านและหลักการแบ่งงานกันทำ (Specialization and Division of Labor)
   2.ขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำ


   3.ประสิทธิภาพในการติดต่อ (Contact efficiency)
หน้าที่ในช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น  หน้าที่ทางด้านวิจัย หน้าที่ด้านการส่งเสริมการตลาด  การคัดเลือกและการจัดสรรสินค้า เป็นต้น
โครงสร้างของช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ ช่องทางจำหน่ายสินค้าบริโภค และช่องทางจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม
การออกแบบช่องทางการจัดจำหน่าย
   1.ระบุความจำเป็นที่ต้องออกแบบ  
   2.ตั้งวัตถุประสงค์ของช่องทาง   
   3.กำหนดงานและหน้าที่ในช่องทาง 
   4.การพัฒนาโครงสร้างช่องทางที่จะอาจเป็นไปได้ 

การประเมินและการเลือกช่องทาง  สามารถวิเคราะห์ได้จาก
  1.ปัจจัยด้านการตลาด
  2.ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์
  3.ปัจจัยทางด้านบริษัท



การเลือกโครงสร้างช่องทางที่ดีที่สุด คือ การเลือกให้เหมาะสมกับตัวผลิตภัณ์ และสถานการณ์ ณ ขณะนั้น
การคัดเลือกสมาชิกช่องทาง ต้องค้นหาสมาชิกช่องทางที่คาดหวัง ตั้งเกณฑ์ในการเลือก การชักจูงเพื่อให้เป็นสมาชิก



สรุป การเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย ต้องเลือกให้เหมาะสมว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าอุตสาหกรรม (ใช้เพื่อการผลิต) เพราะทั้งสองประเภท มีช่องการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้าที่แตกต่างกัน  และสิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดคือ คุณภาพ คุณค่าของสินค้านั้นต้องคงอยู่อย่างสมบูรณ์เมื่อถึงมือผู้บริโภค

 
 
 

 
 
 
 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น