วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การตั้งราคา และนโยบายและกลยุทธ์การตั้งราคา

นางสาวพิมพ์พิศา  สังข์สุวรรณ
นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (D.B.A.07) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
รายวิชา BUS 702 ทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฎิบัติ
          (Advanced Theories of Strategic Management Marketing Concepts and   
          Practices)
หลังจากการฟังบรรยายของ ผศ.ดร.วิชิต  อู่อ้น

บทที่ 8 การตั้งราคา และนโยบายและกลยุทธ์การตั้งราคา
                          ราคา (price )  หมายถึง มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่สามารถวัดได้โดยรูปของจำนวนเงิน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือโอนย้ายกรรมสิทธิในสินค้าและบริการ หรือจำนวนเงินที่ใช้แลกเปลี่ยนกับมูลค่าของผลิตภัณฑ์   
        Utility   คือ  อรรถประโยชน์ หรือคุณลักษณะของสินค้าที่สร้างให้เกิดความพึงพอใจ
        Value     คือ  คุณค่าของสินค้านั้นๆ เมื่อเทียบกับสินค้าอื่นๆ
        Price      คือ  สิ่งที่วัดได้ด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา
         ความสำคัญของราคา  ก่อให้เกิดรายได้  เกิดการผลิต/การจ้างงาน การขยายกิจการ เป็นต้น  ราคาที่เหมาะสมจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคมได้
              วัตถุประสงค์ในการตั้งราคา  
           1.เพื่อผลตอบแทนในรูปของกำไร
           2 เพื่อทำให้เกิดยอดขายเพิ่มมากขึ้น
           3. เพื่อรักษาสถานะให้อยู่คงเดิม
              ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจด้านราคา

            ปัจจัยภายใน (Internal Factors) เช่น เป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร ตันทุน ลักษณะและวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์  
        ปัจจัยภายนอก (External Factors) เช่น วัตถุดิบความยืดหยุ่นของอุปสงค์การแข่งขันจากบริษัทคู่แข่ง ความต้องการทางด้านจิตวิทยาสภาพเศรษฐกิจบทบาทของกฎหมายและรัฐบาล
     นโยบายการตั้งราคา 6 แบบ  
          1. การตั้งราคาเดียวและหลายราคา
          2. การตั้งราคาสูงเมื่อเป็นผู้ผลิตแบบโมโนโพลี และราคาต่ำเพื่อหวังส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด
          3. การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา เช่น ประเภทเลขคี่แบบล่อใจเป็นกลุ่มสินค้าสินค้าที่แสดงถึงชื่อเสียง และตามความเคยชิน
          4. การตั้งตามระดับราคา
          5. การให้ส่วนลด และส่วนยอมให้ เช่นส่วนลดปริมาณแบบสะสมและไม่สะสม ส่วนลดทางการค้าส่วนลดเงินสดส่วนลดตามฤดูกาลส่วนยอมให้สำหรับการส่งเสริมการขายส่วนยอมให้สำหรับการโฆษณา และ ส่วนยอมให้โดยการนำเอาสินค้าเก่ามาแลก
          6. ตามหลักภูมิศาสตร์ เช่น การตั้งราคาเท่ากันในอาณาเขตเดียวกันการตั้งราคาส่งมอบราคาเดียวการตั้งราคาแบบ F.O.B. Shipping Point หรือ F.O.B. Destination Pointการตั้งราคา ณ จุดฐาน
 

 


 สรุป  การตั้งราคาผลิตภัณฑ์ที่นิมกันทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภท คือ 1. การตั้งราคาโดยใช้ต้นทุนเป็นเกณฑ์  2. การตั้งราคาโดยใช้ความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์  3.การตั้งราคาโดยใช้การแข่งขันในตลาดเป็นเกณฑ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น