วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior)

นางสาวพิมพ์พิศา  สังข์สุวรรณ
นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (D.B.A.07) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
รายวิชา BUS 702 ทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฎิบัติ
          (Advanced Theories of Strategic Management Marketing Concepts and   
          Practices)
หลังจากการฟังบรรยายของ ผศ.ดร.วิชิต  อู่อ้น

บทที่ 5  พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior)
          พฤติกรรมผู้บริโภค  หมายถึง  กระบวนการตัดสินใจ ของบุคคลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ ก่อให้เกิดการกระทำที่เกีี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดหาให้ได้มา หรือซื้อสินค้า/การใช้บริการต่างๆ เพื่อนำมาตอบสนองความต้องการของตนเอง

ประโยน์ของการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค
          1.ประโยชน์ต่อการจัดการ หรือการบริหารการตลาด คือช่วยให้นักการตลาดเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า หรือบริการ
          2.ทำให้มองเห็นแนวทาง หรือโอกาสไปสู่ตลาดใหม่ ๆ 
          3.มีประโยชน์ต่อการเลือกส่วนแบ่งตลาด (Market Segment)
          4.ช่วยประสิทธิภาพด้านกลยุทธ์
          5.ช่วยในการปรับปรุงกิจการร้านค้าปลีก
การศึกษาพฤติกรรมศาตร์ 
          เป็นวิธีเดียว ที่จะทำให้นักการตลาดเข้าใจ และรู้ถึงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างแท้จริง  

 รูปแบบจำลองพฤติกรรมผู้ซื้ออย่างง่าย

          ปัจจัยภายใน  ที่ก่อให้เกิดแรงกระตุ้น ประกอบด้วย  1.การจูงใจ  2.การรับรู้  3.การเรียนรู้ 4.บุคลิกภาพ  5.ทัศนคติ
          ปัจจัยภายนอก ที่ก่อให้เกิดแรงกระตุ้น ประกอบด้วย  1.กลุ่มอ้างอิง  2.ชนชั้นทางสังคม  3.ครอบครัว  4.วัฒนธรรม 

กระบวนการในการตัดสินใจซื้อ  ( Consumer's Decision Making Process)


บทบาทของผู้บริโภค
          1.ผู้ริเร่ิ่ม (Initiator)  คือ นักการตลาดต้องทำการศึกษาจาก ผู้บริโภคว่ามีความต้องการอะไร แล้วจึงนำไปผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค  จึงกล่าวได้ว่า ผู้บริโภคเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดผลิตภัณฑ์ หรือการบริการใหม่ๆ

          2.ผู้มีอิทธิพล (Influence)  คือ เมื่อผู้บริโภคเป็นผู้ริเริ่ม ก็ย่อมมีอิทธิพลต่อตลาด เพราะหากความต้องการของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง  ตลาดก็ย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลง

          3.ผู้ตัดสินใจ  (Decider) คือ เมื่อผู้บริโภคเกิดความต้องการ (Needs)  ก็จะเป็นผู้ตัดสินในเลือกซื้อสินค้า หรือบริการเอง  หรืออาจจะตัดสินใจไม่เลือกซื้อก็ได้

          4.ผู้ซื้อ (Buyer) คือ เมื่อผู้บริโภคได้เป็นผู้ตัดสินใจแล้ว  จะเกิดการกระทำตัดสินใจซื้อ ในสิ่งที่ตนเองพอใจ โดยอาจมีทั้งผู้ซื้อทางตรง (ซื้อไปใช้เอง)   และทางอ้อม (ซื้อไปให้บุคคลอื่นใช้)

          5.ผู้ใช้ (User) คือ เมื่อผู้บริโภคเป็นผู้ซื้อแล้ว ก็จะเป็นผู้ใช้ในเวลาต่อมาด้วย โดยอาจมีทั้งผู้ใช้ทางตรง (ซื้อมาใช้เอง)   และทางอ้อม (บุคคลอื่นซื้อมาให้ใช้)




สรุป  กระบวนการเกิดพฤติกรรม  การเกิดขึ้นของพฤติกรรมต้องมีสาเหตุที่่ทำให้เกิด  มีแรงกระตุ้น หรือแรงจูงใจ การกระทำที่เกิดขึ้นต้องมุ่งสู่เป้าหมายที่คาดหวังไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น